ประวัติความเป็นมา มาสด้า - MAZDA Together มาสด้าโปรแรง

Post Top Ad

Responsive Ads Here

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

ประวัติความเป็นมา มาสด้า

         
    MAZDA   
ประวัติความเป็นมา


         มาสด้าไม่ใช้สัญลักษณ์ แต่ใช้อักษรโรมันของคำว่า “MAZDA” เป็นสัญลักษณ์โดยตรงส่วนที่มาของชื่อ MAZDA ก็คือชื่อสกุลของ มร.จูจิโร มัตสุดะ (MR. JUJIRO MATSUDA) ผู้ก่อตั้งกิจการ และ AHURA MAZDA อันเป็นนามของ “เทพเจ้าแห่งแสงสว่าง” ของชาวเปอร์เซียโบราณ ต้นกำเนิดของมาสด้า คือ บริษัทผู้ผลิตไม้ก๊อก TOYO CORK KOGYO ซึ่งก่อตั้งกิจการขึ้นที่เมืองฮิโรชิมา (HIROSHIMA) ในปี 1920 และสองปีหลังจากนั้นจึงขยายกิจการจากการผลิตไม้ก๊อกมาจากเครื่องกลึง เจาะ และไสโลหะ ปี 1927 TOYO CORKKOGYO เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นTOYO CORKKOGYO COMPANY และขยายกิจการออกไปอีก โดยเริ่มผลิตจักรยานยนต์ออกจำหน่ายในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในปี 1930 แต่สินค้าไม่ได้รับความนิยมจึงเลิกไปในเวลาไม่นานนัก หลังจากประสบความล้มเหลวในธุรกิจจักรยานยนต์ TOYO KOGYO ก็เบนเข็มสู่การผลิตรถยนต์โดยผลิตรถบรรทุก 3 ล้อ เครื่องยนต์ 500 ซีซี ออกจำหน่ายครั้งแรกในปี 1931 โดยใช้ชื่อรถว่า MAZDA DA กิจการผลิตรถบรรทุก 3 ล้อ แบบดังกล่าวก็เจริญก้าวหน้าไปด้วยดีจน เมื่อเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เหมือนกับผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ในช่วงนั้นซึ่งจะต้องแปรเปลี่ยนบทบาทมาผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ส่งให้กับกองทัพ ซึ่งทางโตโย โคเกียวผลิตปืนไรเฟิลในตระกูล 30-35 ซีรีส์ และในช่วงก่อนที่สงครามโลกจะยุติลง โรงงานของโตโย โคเกียวก็ได้รับผลกระทบเต็มๆ จากระเบิดปรมาณู ซึ่งถูกทิ้งลงมาที่เมืองฮิโรชิมา และทำให้โรงงานได้รับความเสียหายอย่างหนัก ก่อนที่จะมีการฟื้นฟูกิจการและก่อสร้างใหม่ จนกระทั่งบริษัทสามารถผลิตยานยนต์ออกขายได้อีกครั้ง 



        และมีการส่งออกปิกอัพแบบ 3 ล้อออกไปขายในประเทศอินเดียเมื่อปี 1949 และในปี 1950 มาสด้าก็ผลิตรถยนต์ 4 ล้อ ออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรก มีชื่อรุ่นว่า MAZDA CA และมีการผลิตปิกอัพแบบ 4 ล้อในชื่อ Romper เมื่อปี 1958 และสิบปี หลังจากนั้นมาสด้าก็กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์นั่งอย่างสมบูรณ์เมื่อผลิตรถยนต์นั่งออกสู่ตลาดเป็นรุ่นแรกรถรุ่นดังกล่าวมีชื่อว่า 
     MAZDA R-360เป็นรถ 2ประตู คูเป้ 2 ที่นั่ง เครื่องยนต์วี 2 สูบ  เครื่องยนต์วางด้านท้าย และตัวรถมีน้ำหนักเบาเพียง 380 กิโลกรัมเท่านั้นเอง 356 ซีซี ระบายความร้อนด้วยอากาศ ความเร็วสูงสุด 90 กม./ชม.  
TOYO KOYO เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น MAZDA MOTOR CORPORATION มีฐานะเป็นผู้ผลิตรถยนต์นั่งรายใหญ่เป็นอันดับที่สี่ของญี่ปุ่น ในรอบปี 1989 มาสด้าจำหน่ายรถยนต์นั่งในญี่ปุ่น ได้รวมทั้งสิ้นประมาณ 296,000 คัน หรือเท่ากับร้อยละ 6.7 ของตลาด 


   เริ่มต้นยุคยานยนต์ในปี 1960
       
       แม้จะมีประสบการณ์ในการผลิตยานยนต์มาตั้งแต่ก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ทว่ามาสด้าเพิ่งจะเริ่มรุกตลาดรถยนต์นั่งอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเมื่อปี 1960 กับรุ่น R360 ซึ่งมากับตัวถังคูเป้ 2 ประตู 2 ที่นั่ง เครื่องยนต์วางด้านท้าย และตัวรถมีน้ำหนักเบาเพียง 380 กิโลกรัมเท่านั้นเอง
       
       มาสด้าเดินหน้าอย่างเต็มรูปแบบในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ และในอีก 1 ปีต่อมาพวกเขาก็เซ็นสัญญาความร่วมมือกับทาง NSU และ Wankel ในการสนับสนุนการพัฒนาเครื่องยนต์โรตารี่ ก่อนที่จะเปิดตัวปิกอัพขนาดกลางในชื่อ B1500 Series ออกมาในปีเดียวกัน
       
       
1962 มาสด้าเปิดตลาดเก๋ง 4 ประตูเป็นครั้งแรกด้วยรุ่นแคโรล (Carol) หรือ P360/P600 พร้อมเครื่องยนต์ 4 สูบ OHV 586 ซีซีพร้อมกับมีการตั้งไลน์ผลิตในประเทศเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกในปีนี้ ก่อนที่ในปีต่อมา มาสด้าจะขยายไลน์ผลิตของตัวเองออกไปยังแอฟริกาใต้ และสามารถทำยอดการผลิตยานยนต์ทุกแบบครบ 1 ล้านคันแรก
 

             สานต่อความแรงของพลังโรตารี่จากรุ่นลูเช่กับสายพันธุ์แรกของ RX-7 ที่เปิดตัวในปี 1978
          ช่วงปี 1963-1966 มาสด้าเปิดตัวผลผลิตใหม่ออกสู่ตลาดหลายรุ่น เช่น Familia Van (1963), E2000 (1964), Familia 800/1000 (1964) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์รถยนต์คอมแพ็กต์ Familia หรือ 323, Proceed (1965) ตามด้วย Bongo รถตู้ขนาดเล็กและ Luce ซีดานขนาดกลางในปี 1966 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่โรงงานผลิตรถยนต์นั่งแห่งแรกใน Ujina เมืองฮิโรชิมาเสร็จสิ้นการก่อสร้าง
       
       
มาสด้ากับการรุกตลาดรถยนต์ต่างแดนที่มีขนาดใหญ่และความสำคัญเกิดขึ้นในปี 1967 เมื่อมีการส่งรถยนต์ออกไปขายในยุโรปเป็นครั้งแรก พร้อมกับตั้งเครือข่ายจำหน่ายในประเทศออสเตรเลีย รวมถึงการเปิดตัวรถสปอร์ตเครื่องยนต์โรตารี่รุ่นแรกของตัวเองในชื่อ Cosmo Sports (110S) ออกมา




มาสด้า แฟมิเลีย หรือ 323 เจนเนอเรชันที่ 5 กลายเป็นรถยนต์ญี่ปุ่นรุ่นแรกที่รับรางวัล Car of the year ของญี่ปุ่นเมื่อปี 1980

  Cosmo Sports 110S ทำตลาดในช่วงปี 1967-1972 เป็นสปอร์ตเครื่องยนต์โรตารี่แบบ 2 โรเตอร์ 982 ซีซี 110 แรงม้า ก่อนที่จะมาเปลี่ยนเป็นโรตารี่รุ่นที่ 2 ซึ่งมีการผลิตกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 128 แรงม้า โดยเริ่มผลิตขายในปี 1968 ไปจนถึงปี 1972 โดยในปี 1969 มาสด้าเริ่มส่งสปอร์ตเครื่องยนต์โรตารี่รุ่นนี้ไปขายในตลาดนอกญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก
       
       เข้าสู่ปี 1970 มาสด้าฉลองยอดการผลิตครบ 1 ล้านคันให้กับรถยนต์รุ่น Familia พร้อมกับเปิดตัวรุ่น Capella หรือ RX-2 และเริ่มมีการส่งรถยนต์เข้าไปบุกตลาดสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการด้วยการก่อตั้ง Mazda Motor of America (MMA) ขึ้นมา และปราบความสำเร็จอย่างมากในการเจาะตลาดจนถึงขั้นมีการผลิตปิกอัพเครื่องยนต์โรตารี่ หรือ REPU Rotary Engine Pick-Up ออกมาขายเพื่อลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะในระหว่างปี 1974-1977 และมีการผลิตออกมาประมาณ 15,000 คัน
       
 
แม้น้ำมันแพง แต่มาสด้าก็ยังเดินหน้าลุยโรตารี่

       

       ในปี 1972 มาสด้าฉลองการผลิตรถยนต์ครบ 5 ล้านคันและในปีต่อมาเริ่มบุกตลาดเยอรมันตะวันตก (ในขณะนั้น) และฉลองยอดส่งออกครบ 1 ล้านคัน พร้อมกับเริ่มประสบปัญหากับวิกฤตการณ์น้ำมัน หรือ Oil Crisis ที่ส่งผลโดยตรงกับมาสด้า



ขุมพลังแห่งความภาคภูมิใจ ซึ่งในปัจจุบันมาสด้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์เพียงรายเดียวที่จำหน่ายรถยนต์ซึ่งวางเครื่องยนต์โรตารี่หรือลูกสูบสามเหลี่ยมหมุนออกสู่ตลาด



  วิกฤตการณ์น้ำมันทำให้ผู้บริโภคหันมามองรถยนต์ที่มีความประหยัดน้ำมันกันมากขึ้น และถือว่าเครื่องยนต์โรตารี่มาแจ้งเกิดในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมนัก เพราะจากเรื่องตรงนี้ทำให้มาสด้าประสบปัญหาในด้านยอดขายกับตลาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป
       
       จากเดิมที่โรตารี่มีวางอยู่ในรถยนต์หลายรุ่น แต่ในเมื่อสภาพเปลี่ยนไปทำให้มาสด้าต้องหันมาผลิตเครื่องยนต์แบบ 4 สูบเรียงออกมาทดแทน และแม้ว่าเครื่องยนต์โรตารี่จะกินน้ำมันและไม่เหมาะสมกับบรรยากาศโดยรวมมากนัก แต่ทางมาสด้าก็ยังกัดฟันผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง และในปี 1975 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เริ่มผลิตรถยนต์ในเมืองไทย มาสด้าก็เปิดตัวเจนเนอเรชันที่ 2 ของ Cosmo ซึ่งมีทั้งแบบเครื่องยนต์ 4 สูบและโรตารี่ให้เลือก
 
แฟมิเลีย ปิกอัพ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมาสด้าในการบุกตลาดปิกอัพขนาดเล็ก โดยเริ่มขายเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1963

    อีก 3 ปีต่อมาในปี 1978 ในช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองยอดผลิตเครื่องยนต์โรตารี่ครบ 1 ล้านบล็อกทางมาสด้าก็เปิดตัวสปอร์ตโรตารี่รุ่นใหม่ออกมาแบบไม่เกรงกลัวราคาน้ำมัน และนี่คือจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์ RX-7 Savanna โดยในปัจจุบันมาสด้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์เพียงรายเดียวที่มีการผลิตรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์โรตารี่ในการทำตลาด และเพิ่งฉลองครบรอบ 40 ปีของการทำตลาดเมื่อปี 2007 ซึ่งต่อจาก RX-7 แล้ว รถสปอร์ตแบบ 4 ประตูของมาสด้าอย่างรุ่น RX-8 คือตัวแทนที่สานต่อตำนานเครื่องยนต์โรตารี่
       
       ในปี 1980 Familia เจนเนอเรชันที่ 5 กลายเป็นรถยนต์รุ่นแรกที่สามารถคว้ารางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปีของญี่ปุ่น หรือ JCOTY 1980-1981 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก และในปี 1981 มีการฉลองครบรอบการผลิต 5 ล้านคัน และก่อตั้งบริษัทใหม่ในสหรัฐอเมริกาที่ใช้ชื่อว่า Mazda (North America), Inc. ขึ้นมา
                                                  ลูเช่ รถยนต์อีกรุ่นที่สร้างชื่อให้กับทางมาสด้า
         คอสโม สปอร์ต เปิดศักราชใหม่ของการขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ลูกสูบสามเหลี่ยมหมุน หรือโรตารี่

ยุคที่มีพันธมิตรชื่อฟอร์ด






       จริงอยู่ที่เรารู้จักรถยนต์ในชื่อของมาสด้า แต่ทว่าตัวบริษัทนั้นกลับไม่ใช่ชื่อนี้ เพราะว่ามาสด้าเริ่มมาเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Mazda Motor Corporation หรืออ่านตามภาญี่ปุ่นว่า Matsuda Kabushiki-gaisha เหมือนกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเมื่อปี 1984 นี้เอง และในปีต่อมาก็มีการฉลองยอดการผลิตรถยนต์ครบ 10 ล้านคัน
       

       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ในปี 1979 เกิดความเปลี่ยนแปลงกับบริษัท เมื่อฟอร์ด มอเตอร์เข้ามาซื้อหุ้นจำนวน 7% ขณะที่ในปีเดียวกันนี้ บริษัทฉลองยอดขายครบ 1 ล้านคันในตลาดอเมริกาเหนือและยอดการผลิตครบ 10 ล้านคัน



       การเข้ามาของฟอร์ดทำให้รถยนต์ของทั้ง 2 บริษัทมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น และเมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่ 1980 ฟอร์ดก็เพิ่มจำนวนหุ้นที่ถือในมาสด้าอีกกว่า 20% และใช้มาสด้าเป็นฐานในการผลิตรถยนต์สำหรับขายในตลาดทั่วโลก ซึ่งในช่วงนั้น เราจะพบว่ารถยนต์และปิกอัพของฟอร์ดและมาสด้าหลายรุ่นคือคันเดียวกัน ต่างกันแค่ชื่อและโลโก้ รวมถึงรายละเอียดบางจุดเท่านั้น


       มาสด้ากับความสำเร็จในสนามแข่งเลอมังส์ ด้วยตัวแข่ง 787B เครื่องยนต์โรตารี่ที่คว้าแชมป์ในปี 1991 และทำให้มาสด้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นเพียงรายเดียวที่คว้าแชมป์การแข่งรายการนี้
       

       ในปี 2002 ฟอร์ดเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นมาสด้าอีกครั้ง และคราวนี้เพิ่มตัวเลขอีกกว่า 5% ทำให้โดยรวมแล้วฟอร์ดถือหุ้นในมาสด้ารวม 33.4% การผนึกกำลังของฟอร์ดกับมาสด้าได้รับการยอมรับว่าเป็นคู่หูที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในตลาด ซึ่งจากรายงานของ Businees Week เผยว่า มาสด้าสามารถประหยัดเงินจำนวน 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 3,000 ล้านบาทต่อปีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และในทางกลับกันทางฟอร์ดก็ประหยัดเงินด้วยเช่นกั
 


     อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ปี 2008 เมื่อฟอร์ดต้องฟื้นฟูกิจการตามแผนการที่วางเอาไว้ และมีการลดต้นทุนในหลายๆ ด้าน การขายหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ในมาสด้าก็คือวิธีหนึ่ง ซึ่งในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2008 ทางฟอร์ดประกาศที่จะขายหุ้นจำนวน 20% ที่ตัวเองถืออยู่ในมาสด้าออกไป และเหลือเก็บเอาไว้แค่ 13.4%
       

       หลังจากข่าวนี้ถูกประกาศออกมาได้เพียงวันเดียว ทางด้านมาสด้าควักเงินจำนวน 184 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 6,200 ล้านบาทในการซื้อหุ้นจำนวน 7% กลับคืนมา ขณะที่หุ้นที่เหลือถูกแบ่งขายไปให้กับกลุ่มนักลงทุนในญี่ปุ่นที่สนใจซึ่งก็รวมถึง Denso, Sumitomo Corp. และ Itochu Corp. ซึ่งเหตุผลของการขายก็คือ การระดมเงินสดเตรียมเอาไว้สำหรับใช้ในแผนฟื้นฟูกิจการของฟอร์ด
       
 






ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เกิดสุญญากาศทางด้านแบรนด์รถยนต์ของมาสด้าในญี่ปุ่น ซึ่งมีการเปลี่ยนมาใช้ชื่อของเครือข่ายจำหน่ายที่รับผิดชอบการทำตลาดให้กับรถยนต์รุ่นนั้นๆ แทน อย่าง MX-5 หรือโรดสเตอร์ก็จะใช้ชื่อ Eunos Raodster




สร้างกระแสสปอร์ตเปิดประทุน
       
       ช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 มาสด้าตอบรับกับความต้องการของลูกค้าทั่วโลกด้วยยานยนต์รูปแบบใหม่ในแบบสปอร์ตเปิดประทุน 2 ที่นั่งขนาดเล็กหรือที่เรียกกันว่าโรดสเตอร์ออกมาทำตลาด โดยในญี่ปุ่นเปิดตัวเมื่อปี 1989 ด้วยรูปทรงที่สวยแบบเรียบๆ แต่โฉบเฉี่ยว และตอบสนองการขับขี่ที่สนุกสนานเร้าใจ
       
       ในบ้านตัวเองมาสด้าขายด้วยชื่อโรดสเตอร์ แต่สำหรับตลาดโลกจะเปลี่ยนมาเป็น MX-5 ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อในการทำตลาดว่ามิอาตะ (Miata) ซึ่งรุ่นแรกในรหัส NA เป็นรถสปอร์ตที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยในช่วง 10 ปีที่อยู่ในตลาดระหว่าง 1989-1997 ทำยอดขายได้มากกว่า 400,000 คันทั่วโลกสำหรับรุ่นปัจจุบันเป็นรหัส NC เปิดตัวขายมาตั้งแต่ปี 2005



                    ความนิยมที่มีต่อ MX-5 ของลูกค้าทั่วโลกดูได้จากยอดขายซึ่งในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1992 มาสด้าทำยอดผลิตของ MX-5 รวม 250,000 คันโดยใช้เวลาเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้นนับตั้งแต่เปิดตัว และขยับเป็น 500,000 คันในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1999 ตามด้วย 750,000 คันในเดือนมีนาคม 2004 และล่าสุด 800,000 คันในเดือนมกราคม 2007 และคาดว่าตัวเลขในการผลิตจนถึง ณ ปัจจุบันน่าจะครบ 1 ล้านคันแล้ว

       ยุคใหม่ของชื่อรุ่นรถยนต์
       
       เมื่อเข้าสู่ยุค 2000 มาสด้าเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในเรื่องการเรียกขานชื่อรุ่นรถยนต์ที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักในตลาด เรารู้จักชื่อของแฟมิเลียหรือ 323 เช่นเดียวกับคาเปลล่า หรือ 626 กันมานาน แต่ในตอนนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป



        

   การเปลี่ยนแปลงมีขึ้นในกลางปี 2002 เมื่อมาสด้าเปิดตัวรถยนต์ครอบครัวรุ่นใหม่ออกมาทำตลาดในญี่ปุ่นกับชือ อาเทนซา (Atenza) เพื่อทำตลาดแทนที่ชื่อ คาเพลล่า ที่อยู่ในตลาดมานานตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 ส่วนในตลาดที่ใช้ชื่อว่า 626 ก็เปลี่ยนมาเป็นชื่อสั้นๆ ว่า 6


มาสด้า คาเพลลา รุ่นที่ 1

    แนวคิดนี้ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องกับซับคอมแพ็กต์ใหม่ที่เปิดตัวในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนแปลงเฉพาะชื่อสำหรับขายในตลาดโลก เพราะในญี่ปุ่นยังใช้ชื่อเดมิโอเหมือนเดิม ส่วนในตลาดนอกญี่ปุ่นเปลี่ยนมาเป็น 2 ส่วนแฟมิเลีย หรือ 323 ก็มีการเปลี่ยนแปลงตามมา โดยใช้ชื่อแอกเซลา (Axela) สำหรับตลาดบ้านตัวเอง และ 3 สำหรับตลาดโลก
     
      นอกจาก 3 รุ่นนี้แล้ว มาสด้ายังนำตัวเลขมาใช้กับมินิแวนที่แชร์พื้นฐานเดียวกับ 3 อย่างรุ่นพรีมาซีอีกด้วย โดยในตลาดญี่ปุ่นใช้ชื่อเดิม แต่ตลาดโลกเปลี่ยนมาเป็นรหัส 5 ส่วนรถยนต์รุ่นอื่นๆ ก็ยังทำตลาดด้วยชื่อเดิม


พัฒนาการของโลโก้
       
       ตราสัญลักษณ์ของมาสด้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา และกว่าที่จะเป็นโลโก้ตัว M อย่างในปัจจุบัน ที่ดูคล้ายปีกโดยเริ่มนำมาใช้ในปี 1997 จนถึงปัจจุบัน ก็มีการปรับปรุงกันหลายครั้งเหมือนกัน
       

       แรกเริ่มเดิมทีในช่วงยุคเริ่มต้น โลโก้ของมาสด้าจะใช้ตัว m เล็กอยู่ในวงกลม โดยถูกนำมาใช้ในช่วงระหว่างปี 1962-1975 หลังจากนั้นในช่วงปี 1975-1992 เกิดสุญญากาศเกี่ยวกับตราสัญลักษณ์ของมาสด้า ซึ่งไม่มีโลโก้ที่ชัดเจนในการทำตลาด แต่ก็มีการนำตัวอักษรภาอังกฤษของคำว่า Mazda มาออกแบบใหม่ให้เป็นตัวเหลี่ยม และนำมาใช้กับรถยนต์รุ่นต่างๆ
       
       ในช่วงระหว่างนี้ เฉพาะรถยนต์ของมาสด้าที่ขายอยู่ในญี่ปุ่นจะมีความแตกต่างออกไป โดยในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 มาสด้าแบ่งเครือข่ายจำหน่ายออกเป็น 3 ส่วนในการดูแลรับผิดชอบการขายรถยนต์รุ่นแปลกๆ ที่ไม่ใช่รุ่นหลัก คือ Autozam รับผิดชอบรถยนต์ไซส์เล็กที่หยิบยืมมาจากค่ายซูซูกิ, Efini หรือแองฟินิ สำหรับรถสปอร์ตอย่าง RX-7, MS-6 รวมถึงรถยนต์อเนกประสงค์อย่างรุ่น MPV และปิดท้ายกับ Eunos สำหรับรถยนต์ระดับหรู ซึ่งรถยนต์ที่ถูกขายผ่านเครือข่ายเหล่านี้จะใช้ชื่อเครือข่ายแทนที่ชื่อแบรนด์มาสด้า รวมถึงโลโก้ก็จะแตกต่างออกไปตามแต่ละเครือข่ายจำหน่ายด้วย


                                 
     
  

    มาสด้า 3 ถือเป็นรถยนต์อีกรุ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และช่วยให้ชื่อของมาสด้าสามารถกลับมาแจ้งเกิดในตลาดบ้านเราได้อีกครั้ง          






        ขณะที่รถยนต์รุ่นหลัก เช่น มาสด้า 323, 626 มาสด้าก็มีโลโก้หลักเตรียมเอาไว้ให้ โดยในปี 1991 กับสัญลักษณ์วงรีวางในแนวนอนและมีรูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดอยู่ข้างใน ซึ่งเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์และเปลวเพลิง
       
       แต่สัญลักษณ์นี้ก็ใช้อยู่แค่ปีเดียวเท่านั้น เพราะเมื่อเข้าสู่ปี 1992 มาสด้าจะมีการปรับปรุงโลโก้นี้อีกครั้ง เนื่องจากว่าสัญลักษณ์นี้มีลักษณะคล้ายกับโลโก้ของเรโนลต์เกินไป ทางมาสด้าก็เลยปรับปรุงให้วงรีมีรูปทรงโค้งมนเป็นวงกลมมากขึ้น ขณะที่สี่เหลี่ยมข้างในก็ถูกลบมุม และเพิ่มความโค้งมน โดยสัญลักษณ์นี้ถูกใช้อยู่ในระหว่างปี 1992-1996


             อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ถูกนำมาใช้แค่ช่วงสั้นๆ เพราะเมื่อถึงกลางทศวรรษที่ 1990 มาสด้าก็ยกเลิกแนวทางการทำตลาดในลักษณะนี้ และปล่อยให้ชื่อเหล่านี้เป็นแค่เครือข่ายจำหน่ายต่อไป โดยรถยนต์รุ่นต่างๆ ก็กลับมาใช้แบรนด์มาสด้า เช่นเดียวกับโลโก้ใหม่ที่เป็นตัว M ในวงกลม ก็เริ่มใช้เมื่อปี 1997 จนถึงปัจจุบัน เพื่อแสดงออกให้เห็นถึงความทุ่มเทของบริษัทในการที่ต่อยอดความเจริญเติบโตและการ พัฒนา อันเป็นที่มาของการสร้างตราสินค้า “เอ็ม” ของมาสด้า ซึ่งหมายถึงความตั้งใจที่จะสยายปีกให้กว้างเพื่อที่จะบินไปให้สูงขึ้น เรื่อยๆ



สอบถามโปรโมชั่นเพิ่มเติม     086-7690999 อรรถพร ( โอ๊ต)


 ID LINE   oath1152  




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here